One-Stop Service เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

บริการครบวงจร จากออกแบบงานวิศวกรรม จัดหาอุปกรณ์ ติดตั้งระบบ และบำรุงรักษา จนถึงขออนุญาตหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เบ็ดเสร็จที่เดียว

รับประกันผลลัพธ์ ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า และความพึงพอใจ โดยหนังสือค้ำประกันสัญญา ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย [1]

บริการยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร จากการเพิ่มน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงโครงสร้างรองรับ บนโครงสร้างของหลังคา (ไม่มากกว่า 15 กิโลกรัม/ตรม.) ต่อหน่วยงานท้องถิ่น โดยมีวิศวกรโยธาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับสามัญวิศวกร เป็นผู้สำรวจ ควบคุมงาน และวิเคราะห์การรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาก่อนดำเนินการติดตั้ง และหากพบว่าโครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จะแนะนำวิธีการเสริมโครงสร้างให้แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักเพิ่มเติม และมีสถาปนิกผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาสถาปัตยกรรมหลักระดับสามัญสถาปนิก เป็นผู้ออกแบบ วางผัง และควบคุมงานติดตั้ง

ระยะดำเนินการ: 2 เดือน นับจากวันที่ลงนามสัญญาฯ

ผลิตภัณฑ์และงานติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานสากล (IEC) และมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับใหม่ : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมีวิศวกรไฟฟ้าผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง ระดับสามัญวิศวกร เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและควบคุมงานติดตั้ง

ระยะดำเนินการ: 4-6 สัปดาห์ นับจากวันที่เริ่มเข้าพื้นที่

สำหรับระบบที่มีกำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ รวมกัน ตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป จะต้องดำเนินการขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยที่ กกพ. จะส่งเรื่องต่อให้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบระบบและแจ้งความเห็นให้ กกพ. พิจารณาออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม ต่อไป

ระยะดำเนินการ: 3-4 เดือน หลังจากติดตั้งแล้วเสร็จ

เดิม เนื่องจาก อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 5 แรงม้าเข้าข่ายเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า และกฎหมายกำหนดให้ต้องขอรับใบอนุญาต (รง.4) จึงเป็นเรื่องที่ลำบากมากสำหรับโซลาร์รูฟท็อป ไม่ว่าจะเป็นลักษณะผลิตเพื่อใช้เอง (Self-Consumption) หรือผลิตเพื่อจำหน่าย (PPA) ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มีการแก้ไขข้อกฎหมาย ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2557) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 อนุโลมให้ระบบโซลาร์รูฟท็อป ขนาดกำลังการผลิตไม่เกิน 1,000 kWp และติดตั้งบนหลังคา ดาดฟ้า หรือส่วนใดบนอาคารซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า สามารถทำได้โดยแจ้งการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

ระยะดำเนินการ: 4-6 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบและแจ้งความเห็นจาก พพ.

นอกจากการออกแบบและติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมาตรฐาน วสท. แล้ว ทางเราปฏิบัติตามข้อกำหนดการเชื่อมต่อ (Grid Code) ของระบบผลิตไฟฟ้าตามที่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) / การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยเฉพาะการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดการเชื่อมต่อกับโครงข่าย
รายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบ (กฟน.)
รายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบ (กฟภ.)

และออกแบบให้มีระบบควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Zero Export Controller, EXL) โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ในทะเบียนรายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบหรือเป็นที่ยอมรับ ของการไฟฟ้าฯ
รายชื่อผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้า (กฟน.)

ระยะดำเนินการ: 3 เดือน หลังจากที่ดำเนินการจดแจ้งยกเว้น

ระบบฯ ขนาด 196.2 kWp

  • ฿ 5,291,000
  • (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

การติดตั้งปัจจุบัน ในลักษณะขนานกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ (Grid-Connected) จะเน้นการใช้เองเป็นหลัก (Self-Consumption) และภาครัฐยังไม่มีนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน ในระดับพาณิชย์และอุตสาหกรรม ดังนั้น ปัจจัยสำคัญในการประมาณการผลตอบแทนการลงทุน จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ไฟฟ้าของ Owner เป็นหลัก เพราะว่าระบบโซลาร์รูฟท็อป จะทำการหรี่กำลังการผลิตไฟฟ้าลงให้พอดีกับโหลดไฟฟ้าภายในอาคาร (Energy Export Control) เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าส่วนเกินไหลย้อนกลับเข้าไปที่โครงข่ายตามระเบียบการเชื่อมต่อของการไฟฟ้าฯ

ตารางต่อไปนี้ เป็นการประมาณการผลตอบแทนโดยแบ่งลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็น 3 กลุ่มหลัก ที่พบบ่อย

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 & 4 อัตรา TOU 4.1839 บาท/kWh (On-Peak) และ 2.6037 บาท/kWh (Off-Peak)
ลักษณะการใช้ไฟฟ้าทุกวัน
(365 วันใน 1 ปี)
วันจันทร์ – วันเสาร์
(ไม่รวมวันหยุดราชการ)
วันจันทร์ – วันศุกร์
(ไม่รวมวันหยุดราชการ)
หน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้
(kWh)
284,490 kWh233,827 kWh192,517 kWh
เทียบเป็นค่าไฟฟ้า
ที่ประหยัดได้ต่อปี
฿ 984,100฿ 852,189฿ 744,632
ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้
ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี
฿ 27,290,506฿ 23,368,072฿ 20,169,780
IRR20.91%17.98%15.50%
ระยะเวลาคืนทุน4 ปี 5 เดือน5 ปี 1 เดือน5 ปี 10 เดือน

ผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับระบบฯ

แผงโซลาร์เซลล์ (Jinko Solar PV Module Tier1)

แผงโซลาร์เซลล์จาก Jinko Solar ∙ ขนิด MonoFacial MonoPERC ∙ กำลังการผลิต 540-545 Wp ต่อแผง ∙ ขนาด 2274 x 1134 x 35 mm ∙ จำนวน 144 เซลล์ต่อแผง ∙ นำ้หนัก 28.9 kg ∙ IP68 ∙ ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฟ้า 20.94% – 21.13%

รับประกันคุณภาพวัสดุ 12 ปี (Product Warranty) ∙ รับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 25 ปี (Linear Power Warranty)

IEC61215(2016) ∙ IEC61730(2016) ∙ ISO9001:2015 ∙ ISO14001:2015 ∙ ISO45001:2018

อินเวอร์เตอร์ (SolarEdge Inverter)

อินเวอร์เตอร์ชนิด Grid-Connected 3 เฟส จาก SolarEdge Technologies ∙ ขนาด 90.00 kVA ∙ พิกัดแรงดัน 230/400 Vac ∙ พิกัดกระแสสูงสุด 130.5 A ∙ รองรับกำลังไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 135.00 kWp ∙ ประสิทธิภาพการแปลงไฟฟ้าสูงสุด 98.3% ∙ รับประกันการทำงานเริ่มต้นที่ 12 ปี (และสามารถขยายได้ถึง 20 ปี) ∙ อยู่ในทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดของ กฟน. และ กฟภ.

รองรับ Arc Fault Circuit Interrupter (AFCI กระแสตรง) และ อุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับใหม่ : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565

IEC62103(EN50178) ∙ IEC62109 ∙ AS3100 ∙ IEC61000-6-2 ∙ IEC61000-6-3 ∙ IEC61000-3-11 ∙ IEC61000-3-12

Online Monitoring (ฟรี ตลอดอายุการใช้งาน)

ตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าอย่าง Real-Time ในระดับแผง string หรือทั้งระบบ

รายงานปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ ประสิทธิภาพการผลิต และผลตอบแทน ได้ตั้งแต่วันแรก จนถึงปัจจุบัน

ระบุเหตุขัดข้องได้อย่างชัดเจน ในระดับแผง เพื่อการตรวจสอบ แก้ไข และบำรุงรักษา ที่รวดเร็ว ลด System Downtime

Power Optimizer P1100

ตรวจสอบและปรับประสิทธิภาพในระดับแผง ลดผลกระทบของค่ากำลังไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ที่คลาดเคลื่อน (Module Mismatch Loss) ผลกระทบของเงาและคราบอื่นๆบนแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้สามารถผลิตได้มากกว่าระบบทั่วไป 2% – 10%

และด้วยฟังก์ชั่น SafeDC ที่ลดแรงดันไฟฟ้า DC ของแผงโซลาร์เซลล์ลงให้เหลือ 1V ทำให้การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการผลิตไฟฟ้า มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ Power Optimizer ตรวจวัดค่าอุณหภูมิโดยรอบได้มากกว่า 85 ̊C ฟังก์ชั่น SafeDC จะทำงานเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้

ระบบควบคุมการผลิตไฟฟ้า (Zero-Export Controller)

มิเตอร์วัดแรงดันและกระแสไฟฟ้า ประมวลผลโหลดไฟฟ้าที่ใช้ภายใน และส่งสัญญาณกลับไปที่อินเวอร์เตอร์ผ่าน RS485 เพื่อควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าให้พอดีกับการใช้งานภายใน ตามขอกำหนดของ การไฟฟ้าฯ

อยู่ในทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Zero Export Controller) ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวง และสามารถใช้ร่วมกับโครงข่ายของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (PV Mounting)

อลูมิเนียม เกรด 6005-T5 ∙ ชุดโครงสร้างสามารถถอดเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ และประกอบได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำมุมกับระนาบได้ 10-30 และ 30-60 องศา ∙ ระดับคุณภาพของสกรูว์หรือโบลท์ที่ใช้สำหรับยึดอุปกรณ์จับยึดเป็นแบบ Security Head Bolt and Socket Head Bolt เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม เกรด SS304, A2-70 และสกรูว์ที่ยึดอุปกรณ์เข้ากับโครงสร้างหลังคาชุบด้วย Dacromet Coating เพื่อให้ผิวชุบเกลียวสกรูว์ยึดติดกับโครงสร้างและผิวกะเทาะแตกยาก

ชุดโครงสร้างมีใบรับรองการคำนวนโครงสร้างตามมาตรฐานการรับน้ำหนักและการต้านทานแรงลมไม่ต่ำกว่า 40 m/s ภายใต้มาตรฐาน AS/NZ 1170 รวมทั้งผลการทดสอบระบบ Unit Testing จากสถาบันมาตรฐานในประเทศและต่างประเทศ

รับประกันงานติดตั้งและบำรุงรักษา (O&M)

รับประกันการทำงานและประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า (Performance Ratio) บริการบำรุงรักษาระบบฯ 3 ปีแรก โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หลังจากนั้น สามารถต่อสัญญารับประกันและบำรุงรักษา (O&M) ได้แบบรายปี โดยมีค่าบริการคิดเป็นส่วนน้อยจากค่าไฟฟ้าที่สามารถประหยัดได้ [2]

ผลิตภัณฑ์เสริม

ขยายการรับประกันอินเวอร์เตอร์ ถึง 20 ปี

หมดความกังวลในระยะยาว อินเวอร์เตอร์จาก SolarEdge มีการรับประกันการทำงาน เริ่มต้นที่ 12 ปี (เทียบกับอินเวอร์เตอร์ทั่วไปที่ 5 ปี) และสามารถขยายการรับประกันการทำงาน จาก 12 ปี ไปจนถึง 20 ปี ได้ โดยการซื้อประกันผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เพียง 51,000 บาท/เครื่อง (สำหรับอินเวอร์เตอร์ SolarEdge รุ่น SE90K)

ระบบควบคุมการผลิตไฟฟ้าแรงสูง (22kV Zero-Export Controller)

มิเตอร์วัดแรงดันและกระแสไฟฟ้าทางด้านไฟฟ้าแรงสูง สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงมากกว่า 1 เครื่อง และต้องการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกหม้อแปลงผ่านระบบไฟฟ้าแรงสูง

อยู่ในทะเบียนรายชื่อผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Zero Export Controller) ที่ผ่านการตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวง และสามารถใช้ร่วมกับโครงข่ายของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เครื่องวัดสภาพอากาศ (Environmental Sensors)

ติดตั้งเซนเซอร์วัดความเข้มของแสง (Irradiance Sensor) เทียบปริมาณไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้กับปริมาณแสงแดดที่กระทบแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อประมวลประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของระบบฯ (Performance Ratio) ∙ บันทึกข้อมูลสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิของเซลล์ (Module Temperature Sensor) อุณหภูมิโดยรอบ (Ambient Temperature Sensor) หรือ/และ ความเร็วของลม (Wind Speed Sensor) ∙ เรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ผ่าน Online Monitoring [3]

ทางเดินบนหลังคา (FRP Walkway)

ทางเดิน Fiberglass Reinforced Plastic (FRP) คุณสมบัติที่แข็งแรง ยืดหย่น ทนต่อสภาพอากาศ ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย และน้ำหนักเบา เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับทางเดินบนหลังคา ไม่แพ้ชนิดอื่นๆ เช่น เหล็ก Hot-Dip Galvanized หรือ อลูมิเนียม ไม่ลื่นและสามารถเดินได้อย่างปลอดภัยเวลาเปียก อายุการใช้งานยาวนาน

ราวกันตก

ผลิตภัณฑ์จาก RRACKS ออกแบบราวกันตกความสูงที่ได้มาตรฐาน ปลอยภัยและหมดข้อกังวลสำหรับผู้ใช้งาน ระหว่างช่วงติดตั้งและบำรุงรักษา ทำจากวัสดุอลูมิเนียม ทนต่อการใช้งานระยะยาว มีน้ำหนักที่เบาเพื่อความรวดเร็วในงานติดตั้ง สามารถติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบ

[1] เงื่อนไขการรับประกันเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด

[2] กรณีรับประกันประสิทธิภาพ จะต้องติดตั้ง Irradiance Sensor เพื่อการประมวล Performance Ratio

[3] จะต้องติดตั้งร่วมกับ SolarEdge Control & Communication Gateway (CCG)